นิสิต ม.ทักษิณ พัฒนาสื่อการเรียนรู้อัจฉริยะแสดงผลผ่านระบบ IoT ร่วมกับ Web browser บน Platform ออนไลน์สำหรับ Smart-Lab
ทีมนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้พัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอน “การพัฒนาชุดการทดลองเพื่อการศึกษาสมดุลวัฏภาคระหว่างของแข็งกับของเหลว พร้อมสื่อการเรียนรู้อัจฉริยะแสดงผลผ่านระบบ IoT ร่วมกับ Web browser บน Platform ออนไลน์สำหรับ Smart-Lab” โดยทีมผู้ประดิษฐ์ประกอบด้วย นายเสกข์ หาญดี นางสาวนิสากร นครังค์ นายฐิติพงศ์ ปะดุกา นางสาวชารีฟา หมัดอะดำ ซึ่งทั้งหมดเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตร กศ.บ. เคมี หลักสูตรผลิตร่วมระหว่างคณะศึกษาศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมีอาจารย์ ดร. จิราพร ช่อมณี นายศุภกร กตาธิการกุล เป็นปรึกษา ผลงานดังกล่าวได้รับรางวัลในการนำเสนอนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 Thailand research Expo 2021 (ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์) ได้รับ “รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรม ระดับปริญญาตรี (รางวัลระดับดีเด่น) จำนวนเงินรางวัล 15,000 บาท” “รางวัลเหรียญเงิน ประเภทนวัตกรรม” และได้รับรางวัล “รางวัลเหรียญเงิน ประเภทนวัตกรรม” จากงาน SIIF2021 (Seoul International Invention Fair 2021) ณ ประเทศเกาหลีใต้ (ระดับนานาชาติ)
นายเสกข์ หาญดี ตัวแทนทีมนักวิจัยกล่าวถึงแรงบันดาลใจของการประดิษฐ์ผลงานชิ้นนี้ว่า การประยุกต์ใช้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันสร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อการสอนในแลปปฏิบัติการในส่วนของรายวิชาเคมีเชิงฟิสิกส์ โดยได้มีการเขียนโค๊ดคำสั่งภาษา C++ ผ่านโปรแกรม Arduino IDE ลงบน Microcontroller ชนิด WIFI เพื่อตรวจวัดค่าอุณหภูมิของสาร และได้นำระบบเอา IoT (Internet of Thing) มาใช้ในการรับส่งค่าข้อมูลแบบดิจิทัลไปยัง Firebase แล้วส่งค่าต่อไปยัง Web application ที่ได้สร้างขึ้นสำหรับวาดกราฟสมดุลวัฏภาคที่สามารถแสดงถึงจุกยูเทคติกได้ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ข้อมูลที่ได้จะอยู่ในรูปดิจิทัลและสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้งานหรือนำมาวิเคราะห์ในภายหลังได้ และสร้างแอปพริเคชั่น “phase diagram for learning”สำหรับคำนวณผลการทดลองพร้อมทั้งแสดงกราฟสมดุลวัฏภาคบน Web browser ผ่านหน้าจอ Smart phone สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยได้นำเอาระบบ Steaming มาปรับใช้ร่วมกับการเรียนการสอนผ่านระบบ online ซึ่งผู้เรียนสามารถเห็นค่าข้อมูลที่ได้การทดลองไปพร้อม ๆ กับการทำการทดลอง ได้แบบ Real-time ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความความรู้ความเข้าใจ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการต่อยอดความรู้ในอนาคตได้ การที่ครูยุคใหม่สามารถสร้างสื่อการสอนโดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ได้ จะเป็นส่วนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพราะนักเรียนของเราสามารถได้เรียนรู้ด้วยสื่อที่ทันสมัย ทันเทคโนโลยี อย่างไม่สิ้นสุด “คิดถึงครูวิทย์ คิดถึงครู ม.ทักษิณ”
สำหรับนวัตกรรมชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิทยาศาสตร์มีส่วนช่วยให้เกิดนักนวัตกรรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรฐกิจของประเทศให้ก้าวต่อไปในอนาคตทั้งสิ้น จึงเป็นที่มาของคำว่าการศึกษา คือ ปัจจัยพื้นฐานที่จะยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต อีกทั้งสอดคล้องกับมิติทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมควรจะให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อที่จะผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษายังเกิดขึ้นมากในสังคมไทยเช่น การขาดโอกาส การขาดแคลนอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญพร้อมทั้งหาแนวทางการแก้ไขต่อไป ดังนั้นแล้วชุดการทดลองสมดุลวัฏภาคก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มโอกาสเพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดได้ต่อไปในอนาคต ส่วนในด้านของอุตสาหกรรม สามารถนำหลักการของชุดเครื่องมือนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อาหาร การขนส่งหรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมการผลิต ถ้าในด้านอุตสาหกรรมอาหาร ตัวอย่างเช่น การผลิตไอศกรีม การถนอมอาหารสำหรับการขนส่งระยะไกล หรืออุตสาหกรรมการผลิต ตัวอย่างเช่น การหาสัดส่วนของสารผสมและอุณหภูมิที่เหมาะสมได้ ในการผลิตลวดบัดกรี คือหาสัดส่วนของโลหะผสมที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ได้ลวดบัดกรีที่ได้มีคุณภาพสูง ใช้อุณหภูมิไม่มากในการบัดกรีลวดบนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่ตามมาก็คือจะช่วยให้ลดต้นทุนในการผลิต และลดการใช้พลังงาน ตอบโจทย์เทรนด์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้เป็นอย่าง