ม.ทักษิณ ร่วมมือภาคีเครือข่ายเปิดตัวโครงการรวิจัยเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย พื้นที่จังหวัดพัทลุง

ม.ทักษิณ ร่วมมือภาคีเครือข่ายเปิดตัวโครงการรวิจัยเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย พื้นที่จังหวัดพัทลุง

16 ก.ค. 66 256

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ร่วมเปิดตัวโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการนวัตกรรมทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพื้นฐานของประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย พื้นที่จังหวัดพัทลุง (ประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย : ประชาธิปไตยฐานชุมชน)  ณ ห้องประชุมท่ามิหรำ  โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย จังหวัดพัทลุง 

     ประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย : ประชาธิปไตยฐานชุมชน เป็นโครงการประเภททุนส่งเสริมวิจัยศักยภาพสูงที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มีระยะเวลาในการศึกษาวิจัย 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2569 โดยมีพื้นที่ดำเนินการในระยะแรก ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดพัทลุง ในส่วนของพื้นที่ดำเนินการจังหวัดพัทลุง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นนักวิจัยผู้ร่วมโครงการและรับผิดชอบหลัก บรรยากาศการเปิดตัวโครงการประกอบด้วย

การกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การสร้างพื้นที่กลางของภาคประชาสังคมสู่การสานพลังขับเคลื่อนภาคใต้”
โดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “ประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย: ประชาธิปไตยฐานชุมชน”
โดย...ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์

การเสวนา “ทิศทางคนพัทลุงสู่การกำหนดอนาคตตัวเอง”
โดย...1) นายแก้ว สังข์ชู นายกสมาคมสวัสดิการชุมชนจังหวัดพัทลุง
        2) นายสุวัฒน์ คงแป้น นายกสมาคมสภาองค์กรชุมชนพัทลุง
        3) นายพา ผอมขำ ประธานคณะทำงานสภาขับเคลื่อนแผนชุมชนเชิงบูรณาการจังหวัดพัทลุง
        4) นายธนภณ เมืองเฉลิม ผู้อำนวยการสำนักงานภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
            ดำเนินรายการโดย...ผศ.ดร.พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ

     ซึ่งเป็นทีมทำงานและภาคีเครือข่าย และการประชุมกลุ่มย่อยร่วมออกแบบพัทลุงมหานครแห่งความสุข ในประเด็น “หากพัทลุงจะเป็นมหานคร จะเป็นมหานครแบบไหน และถ้าเป็นมหานครแห่งความสุขการเดินทางไปสู่ความสุขนั้น เราจะร่วมกันทำอะไร อย่างไร"

     การร่วมเปิดตัวโครงการครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างทีมทำงานและภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมในพื้นจังหวัดพัทลุง ได้แก่ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สมาคมสวัสดิการชุมชนจังหวัดพัทลุง สมาคมสภาองค์กรชุมชนพัทลุง สภาขับเคลื่อนแผนชุมชนเชิงบูรณาการจังหวัดพัทลุง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ สภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพัทลุง สมาคมสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง โครงการ Node Flagship สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จังหวัดพัทลุง ขบวนองค์กรชุมชน จังหวัดพัทลุง โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากภาคีเครือข่ายดังกล่าวจำนวนกว่า 70 คน