นักวิจัย ม.ทักษิณ สุดปัง! คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท จากการ Pitching ในงาน HACKATHON แนวทางการแก้ไขปัญหาและการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย: รักษาดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้คางดำรุกราน
วันที่ 26-27 กันยายน 2567 นักวิจัย และนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ เข้าร่วมโครงการจัดประชุมระดมความคิดเห็น แนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย: รักษา/ดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้คางดำรุกราน (HACKATHON) จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). และ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ไทยพีบีเอส กล่าวเปิดงานในครั้งนี้
สำหรับกิจกรรมมีบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อต่าง ๆ
* แนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไท โดย ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง | ผู้อำนวยการ สวก.
* ฉากทัศน์การแก้ไขปัญหา “เอเลียนสปีชีส์” (Alien Species) กับความยั่งยืน โดย รศ. ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ | ผู้อำนวยการหน่วยกลยุทธ์ข้อมูลและดิจิทัล สกส
* องค์ความรู้เรื่องพื้นที่นิเว โดย นักวิชาการไทยพีบีเอส และหรือ นักวิชาการกรมประมง
หลังจากนั้นการสร้างทีมระดมสมอง และแบ่งกลุ่มตามความสนใจประเด็นปัญหา (โจทย์) Pitch Fire ในหัวข้อ: ระบบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลากับการรักษา/ดูแล ฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ไม่ให้ปลาหมอคางดำรุกราน ซึ่งนักวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภฎา คีรีรัฐนิคม และ อาจารย์ ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ คว้ารางวัลรองชนะเริศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท จากการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในประเทศไทย จากการระดมความคิดในทีมอีกด้วย
................................
ภาพ/ข่าว : สถาบันวิจัยและนวัตกรรม