ม.ทักษิณ ปั้นนิสิตนวัตกรรมสังคม ลัดฟ้าสู่ไต้หวันเข้าแคมป์โชว์สิ่งประดิษฐ์ The 3rd GTEP International Invitation from Taiwan Tech มุ่งสร้างระบบนิเวศผู้ประกอบการสู่มหาวิทยาลัย Glocalization

ม.ทักษิณ ปั้นนิสิตนวัตกรรมสังคม ลัดฟ้าสู่ไต้หวันเข้าแคมป์โชว์สิ่งประดิษฐ์ The 3rd GTEP International Invitation from Taiwan Tech มุ่งสร้างระบบนิเวศผู้ประกอบการสู่มหาวิทยาลัย Glocalization

25 พ.ย. 67 185

ม.ทักษิณ ปั้นนิสิตนวัตกรรมสังคม ลัดฟ้าสู่ไต้หวันเข้าแคมป์โชว์สิ่งประดิษฐ์ The 3rd GTEP International Invitation from Taiwan Tech มุ่งสร้างระบบนิเวศผู้ประกอบการสู่มหาวิทยาลัย Glocalization

ภารกิจส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมสังคม กลุ่มภารกิจพัฒนาอัตลักษณ์นิสิต และศิษย์เก่าสัมพันธ์ ฝ่ายกิจการนิสิต และงานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัย จัดโครงการ "TSU Leaning Innovation and Business Incubation in Taiwan" ระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567 ณ National Taiwan University of Science and Technology โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรยา สิทธิสาร รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิตและพันธกิจสัมพันธ์ นำทีมผู้บริหาร บุคลากร และนิสิต ที่ชนะเลิศในโครงการ "TSU Innovation Pitching 2024"  จำนวน 28 คน (ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณได้จัดประกวดแข่งขันเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา) เดินทางไปเข้าร่วมกิจกรรม บ่มเพาะ เรียนรู้การนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมในการมุ่งสู่สังคมผู้ประกอบการ กิจกรรมในครั้งนี้มุ่งพัฒนานิสิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีความเป็นสากล พร้อมทั้ง สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมสังคมที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนานิสิตที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยทักษิณในการเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมสังคมในเวทีระดับนานาชาติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรยา สิทธิสาร รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนิสิตและพันธกิจสัมพันธ์  ให้ข้อมูลว่า มหาวิทยาลัยทักษิณมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ โดยจัดทำแผนพลิกโฉมของมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology and Innovation) ประกอบกับการดำเนินงานของแผนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยทักษิณ (Reinventing Thaksin University) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566- 2570) มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2567 มีเป้าหมายการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการศึกษา การวิจัย การสร้างนวัตกรรมสังคม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน  โดยมุ่งเน้นการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและมั่นคงอย่างยั่งยืน  การจัดโครงการ "TSU Leaning Innovation and Business Incubation in Taiwan" เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศผู้ประกอบการให้แก่นิสิต สำหรับนิสิตที่เข้าร่วมโครงการ ฯ เป็นนิสิตที่ชนะเลิศในโครงการ "TSU Innovation Pitching 2024"  จำนวน 28 คน เดินทางมาทำกิจกรรม ณ ประเทศใต้หวันเพื่อเข้าแคมป์เรียนรู้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม ต่อยอดบ่มเพาะสู่สังคมผู้ประกอบการ เพื่อเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัย Glocalization 
  

ฝ่ายกิจการนิสิต ได้จัดทำโครงการเพื่อการสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีทางสังคมให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนานวัตกรรมตามแนวทางการพัฒนานิสิตให้มี Glocal Talent ด้วยแนวคิดนวัตกรรมสังคมและ TSU Man  โดยการสนับสนุนและพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น Soft Skills  Power Skills  Digital Skills  Thinking Skills เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อตอบสนองการพัฒนานิสิตของมหาวิทยาลัยทักษิณให้มีความรู้และความ เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีทางสังคม การสร้างนวัตกรรม และการเป็นผู้ประกอบการ ให้สามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีความสากลมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่จุดเริ่มต้นในการใช้ประโยชน์ในภาคสังคมและภาคธุรกิจอย่างครบวงจร อันจะนำไปสู่การพัฒนานิสิตให้เป็นนักนวัตกรรมสังคมตอบสนองวิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศชาติ 

     

สำหรับการจัดโครงการ "TSU Leaning Innovation and Business Incubation in Taiwan" เป็นการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศผู้ประกอบการให้แก่นิสิต เพื่อขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัย Glocalization มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักนวัตกรสังคม นักประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ  เพื่อบ่มเพาะความรู้ในการเป็นนักนวัตกรสังคม นักประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ พร้อมทั้ง สร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมที่จะมุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้มีเครือข่ายด้านการพัฒนานวัตกรรมระหว่างสถาบันในต่างประเทศ และเพื่อให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ต่อผู้ประกอบการ หรือผู้สนใจที่แสวงหาเทคโนโลยีนวัตกรรม ในเวทีประกวดระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับประสบการณ์ และความท้าทายในการบ่มเพาะความรู้การเป็นนักนวัตกรสังคม และนักประดิษฐ์ในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ ณ ประเทศไต้หวัน กิจกรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-30 พฤศจิกายน 2567 ในลักษณะของการเข้าแคมป์ กิจกรรมการบ่มเพาะและเรียนรู้สู่สังคมผู้ประกอบการ  โดยแบ่งการจัดกิจกรรมในแต่ละวันดังนี้    

  

- กิจกรรมวันที่ 25-26 พฤศจิกายน เป็นกิจกรรม workshop ด้าน innovation และการบ่มเพาะธุรกิจ   ซึ่งเป็น session พิเศษสำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณ 
- กิจกรรมในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567  นิสิตที่เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาดูงาน และเยี่ยมชมตัวอย่างธุรกิจ startup เรียนรู้รูปแบบ กระบวนการการทำธุรกิจเพื่อให้เข้าใจกระบวนการทำงานในภาพรวม และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาธุรกิจใหม่ในอนาคต นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมมหาวิทยาลัย National Taiwan University of Science and Technology ประเทศไต้หวัน

  

- กิจกรรมวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เป็นการเตรียมพร้อมในการแข่งขันสำหรับนิสิตกลุ่มที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 และการศึกษาสภาพภูมิทัศน์ของประเทศไต้หวัน  
- สำหรับกิจกรรมไฮไลน์ในครั้งนี้ เป็นการเข้าร่วมการแข่งขันและร่วมกิจกรรมในงาน The 3rd GTEP International Invitation from Taiwan Tech  ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นเวทีค้นหานวัตกรรมงานวิจัยเด่นของนิสิต และเป็นเวทีที่นิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณจะได้แสดงศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรมงานวิจัยในเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ระบบนิเวศผู้ประกอบการ เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัย Glocalization มหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก 

..........................................

ภาพข่าว : ฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ

เรียบเรียง :  งานสื่อสารองค์กร  สำนักงานมหาวิทยาลัย

#The3rdGTEPInternationalInvitationfromTaiwanTech #ReinventingThaksinUniversity  #GlocalTalent #TSULeaningInnovationandBusinessIncubation #Taiwan #SofSkills #DigitalSkills #PowerSkills  #ThinkingSkills #TSU InnovationPitching2024 #TSUNEWS  #WeTSU  #THAKSINUNIVERSITY