มหาวิทยาลัยทักษิณ
THAKSIN UNIVERSITY
 

 

แบบสำรวจหลักฐานเชิงประจักษ์
Evidence – Based Integrity and Transparency Assessment: EBIT
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
ตัวชี้วัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใส
  025 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม   
 

มหาวิทยาลัยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัย ดังนี้

  1. คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล จับมือเอกชนพัฒนาหลักสูตร วิชาการ และงานวิจัยร่วมกัน เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 เวลา 11.00 น. คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล จัดพิธีลงนามความร่วมมือด้านหลักสูตร วิชาการ และการวิจัยเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ และบริษัท ไทย โบต้าเน็กซ์ จำกัด

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมผลิตบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณให้มีทักษะและความรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ผ่านกิจกรรมการฝึกประสบการณ์เชิงปฏิบัติในรูปแบบ Active Learning การฝึกสหกิจศึกษา หรือผ่านหลักสูตรยุคใหม่ (WIL: Work- integrated Learning) และร่วมพัฒนาองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสกัดสารจากธรรมชาติของผู้เรียน ที่เชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมสนับสนุนและผลักดันให้ผู้เรียนเกิดความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน ในงานด้านสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติโดยร่วมมือกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาสนับสนุนมิติด้านวิชาการให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน

https://sci.tsu.ac.th/activity/204

  1. คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านหลักสูตร วิชาการ และการวิจัย เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ และบริษัท บุญเกษม ร่วมค้า จำกัด เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ทักษิณาคาร มหาวิทยาทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมผลิตบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ให้มีทักษะและความรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ผ่านกิจกรรมการฝึกประสบการณ์เชิงปฏิบัติในรูปแบบ Active Learning การฝึกงาน สหกิจศึกษาทั้งในและต่างประเทศในพื้นที่ที่บริษัทจัดหาให้ หรือผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE : Cooperative and Work Integrated Education) ให้กับนิสิตในหลักสูตรที่เข้าร่วมโครงการความร่วมมือ พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ผ่านกระบวนการฝึกอบรม ร่วมพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการสกัดสารจากธรรมชาติของผู้เรียนและบุคลากรที่เชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคม ยกระดับคณาจารย์ให้เรียนรู้วิธีการดำเนินธุรกิจ หรือนำความรู้ที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติงานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสนับสนุนและผลักดันให้ผู้เรียนเกิดความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในงานด้านสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสนับสนุนมิติด้านวิชาการให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน อย่างยั่งยืน หรือต่อยอดนวัตกรรมและงานวิจัยสู่การพาณิชย์ตามที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน

https://sci.tsu.ac.th/activity/191

  1. ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ร่วมหารือ Thaipbs ถึงความพร้อมจัดตั้ง ศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อสาธารณะภาคใต้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 9.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมทานตะวัน SC1218 คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ โดย ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล มีโอกาสต้อนรับตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ Thaipbs นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพมาศ ปักเข็ม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล อาจารย์ ดร.ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและสื่อสารองค์กร อาจารย์ ดร.ณภัทร แก้วภิบาล ประธานศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล นายกฤษดา สุวรรณการณ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวแทนอาจารย์จากหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ตัวแทนจากคณะสหวิทยาการและการประกอบการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ตัวแทนจากฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมหารือกับนายณัฐพงษ์ จารุวรรณพงษ์ ตัวแทนจาก Thaipbs ถึงความ     เป็นไปได้ของการออกแบบกลไกบริหารจัดการแบบหน่วยบริการสาธารณะที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตของไทยพีบีเอส เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการก่อตั้งและขับเคลื่อนศูนย์สร้างสรรค์สื่อเพื่อสาธารณะภาคใต้

https://sci.tsu.ac.th/activity/192

  1. วิพากษ์หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา โดยอาจารย์ เสรี บุญรัตน์ ประธานหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ เเละอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ได้ดำเนินการจัดประชุมวิพากษ์หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่ ประกอบด้วย 2 วิชาเอก ได้แก่ วิชาเอกการจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์ วิชาเอกการจัดการการประกอบการทางสังคม โดยมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กรุณาให้ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อนิสิตของวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา ดังนี้

     1. รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล สุจบท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธิติมา ณ สงขลา มหาวิทยาลัยทักษิณ

4. คุณอเนก แซ่ตัน ประธานบริษัทเบญจพรกรุ๊ป จำกัด

https://umdc.tsu.ac.th/newsDetail.php?pid=129596