หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization

หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization

15 พ.ย. 67 114

หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม งานลอยกระทง เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทักษิณจากรากสู่โลก The University Glocalization  องค์การนิสิต จัดใหญ่ เฟ้นหาบุตรทักษิณา เทพธิดาทักษิณ และเทพไพลินศิลป์แดนใต้  

องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต จัดโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง สืบสานวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤศจิกายน 2567 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา  โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน  โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นที่ให้นิสิตได้แสดงความสามารถทางด้านศิลปวัฒธรรม อย่างสร้างสรรค์ เข้าใจการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ผลักดันสู่การเป็นพลเมืองโลก พร้อมส่งเสริมและสนับสนุน ให้นิสิต และบุคลากร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีอันดีงาม ตอบสนองยุทธศาสตร์ The University Glocalization ในหมุดหมายที่ 4 พัฒนานวัตกรรมสังคมบนฐานศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสืบสานและและพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน  เป็นการพัฒนาศักยภาพที่สำคัญของนิสิตในศตวรรษที่ 21 ทั้ง Hard Skills และ Soft Skills และยังเสริมสร้างศักยภาพและสร้างคุณค่าของนิสิตให้เป็นไปตามหลัก Glocal Cilizenship

 รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยทักษิณ คาดหวังว่า การจัดโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง ขององค์การนิสิต จะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของนิสิตได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งกิจกรรมในวันนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ ได้ว่า เป็นกิจกรรมที่จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือของนิสิตและบุคลากรได้หลากหลายอีกกิจกรรมหนึ่ง ของมหาวิทยาลัยทักษิณ  ขอฝากกับนิสิตทุกคนว่า โครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " และงานลอยกระทง เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญโดยเฉพาะการนำมหาวิทยาลัยทักษิณไปสู่  ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก และจากโลกมาสู่เรา การพยายามที่จะรื้อฟื้นกิจกรรม รวมถึงระบบองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จะนำมาเผยแพร่ในสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญแต่เราจะต้องตระหนักไว้ว่า วัฒนธรรมไม่ได้หยุดนิ่ง วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมล้วนมีพลวัฒน์ มีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเป็นไปตามยุคสมัย

 

 สิ่งเหล่านี้เราจะต้องคิดและตระหนักว่าเราจะจัดกิจกรรมอย่างไร ให้สามารถดึงเอาวัฒนธรรมมาใช้ และสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์กิจกรรมในเชิงมิติทางวัฒนธรรมใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่บนฐานปัญญาเดิม และสามารถนำไปสู่การออกแบบ ดีไซน์ใหม่ ๆ ให้สมสมัยสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมนั้น ๆ ได้มากขึ้น  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความพยายามของผู้จัดงาน  โดยเฉพาะองค์การนิสิตที่จะร่วมกันอนุรักษ์ และสร้างสรรค์กิจกรรม โดยการเรียนรู้จากฐานวัฒนธรรมเดิมได้อย่างดี และขอเป็นกำลังใจให้นิสิต ขอให้จัดโครงการดี ๆ แบบนี้ต่อ ๆ ไปในทุก ๆ ปี

 นายรัฐภูมิ  รอดบน  ในนามตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม " กล่าวว่า โครงการ " หรอยแต่แรก สานใจใต้ สายใยวัฒนธรรม "  กำหนดจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน โดยมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมแต่ละวัน ดังนี้

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567  เปิดตลาดวันลอยกระทงซึ่งจะมีการออกร้าน และซุ้มผู้นำองค์กร ชมรม และนิสิตที่มีความสนใจ กิจกรรมลอยกระทงอนุรักษ์ประเพณีไทย  ซึ่งจะมีไฮไลน์ของการจัดงาน คือการประกวด บุตรทักษิณา เทพธิดาทักษิณ และเทพไพลินศิลป์แดนใต้ เพื่อให้นิสิตได้แสดงออก และเสริมสร้างศักยภาพของนิสิต รวมถึงการเปิดกว้างในด้านความหลากหลายเพื่อให้นิสิตได้แสดงจุดยืนและแสดงความสามารถของตัวเอง อีกทั้งให้นิสิตตระหนักถึงความเสมอภาคทางเพศในสังคมปัจจุบัน

       

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านทางบก และการแสดงหนังตะลุง เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมทางภาคใต้

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567  3 เป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านทางน้ำ การแข่งขันขูดมะพร้าว การแข่งขันทำอาหารพื้นบ้าน การนำเสนอ Soft Power จากซุ้มของกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ  รวมถึงการแสดงคอนเสิร์ตปิดท้ายการจัดกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมสุดท้ายของการจัดโครงการนี้

.............................

เรียบเรียง :  งานสื่อสารองค์กร  สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ

#ลอยกระทง  #องค์การนิสิต  #หรอยแต่แรก  #The_University_Glocalization  #TSUNEWS  #WeTSU #มหาวิทยาลัยทักษิณ