มหาวิทยาลัยทักษิณปรับโครงสร้างการบริหาร ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คณะสหวิทยาการและการประกอบการ

มหาวิทยาลัยทักษิณปรับโครงสร้างการบริหาร ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คณะสหวิทยาการและการประกอบการ

24 ม.ค. 67 798

มหาวิทยาลัยทักษิณปรับโครงสร้างการบริหาร ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คณะสหวิทยาการและการประกอบการ วิทยาเขตพัทลุง พลิกโฉมและพัฒนาเทคโนโลยี ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม สร้างผู้ประกอบการชั้นนำของประเทศและระดับสากล 

     รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี (รักษาการแทนคณบดีคณะสหวิทยาการและการประกอบการ) ได้กล่าวถึงแนวคิดของการบริหารคณะสหวิทยาการและการประกอบการไว้ว่า “หน้าที่หลักของเรา คือ การบ่มเพาะนิสิต โดยสร้างรากที่เข้มแข็ง เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนทัศนคติแล้วค่อยเติมความรู้ นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้วยตัวของเขาเอง เพื่อการเป็นผู้ประกอบการที่ยั่งยืน”  

     คณะสหวิทยาการและการประกอบการ หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Faculty of Multidisciplinary Science and Entrepreneurship จัดตั้งขึ้นตามพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 8 กันยายน 2566 เป็นคณะลำดับที่ 15 ซึ่งเป็นคณะล่าสุดของมหาวิทยาลัยทักษิณ  เป้าหมายจัดตั้งเพื่อการเพิ่มประสิทธิผลและความเข้มแข็งทางวิชาการโดยการบูรณาการทักษะวิชาชีพ (Professional Skills) กับทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) เพื่อพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมของหลักสูตรในกลุ่มสาขาวิชาตามเกณฑ์ ISCED 2013 ภายใต้แนวคิดการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และพัฒนากําลังคน ดังนี้

     1. การบูรณาการศาสตร์ หลากหลายศาสตร์ หรือสาขาวิชา (Interdisciplonary) อย่างกลมกลืน และเป็นเนื้อเดียวกันอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างทักษะและสมรรถนะให้แก่บัณฑิตและกําลังคนภาคการผลิตให้มี ทักษะวิชาชีพ (Professional Skills) กับทักษะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) เพื่อผลิต บัณฑิตและพัฒนากําลังคนให้เป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรม เป้าหมายที่เป็นความต้องการของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566- 2570) และเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มหาวิทยาลัยทักษิณผลิตบัณฑิตอยู่แล้ว ได้แก่ สาขาวิชาตามเกณฑ์ ISCED 2013 ทําให้เกิดการแปลงโฉมรูปแบบการผลิตบัณฑิตและพัฒนากําลังคน ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนหลักสูตร (Transforming curriculum) การปรับรูปแบบการศึกษาใหม่เพื่อพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมภายใต้หลัก การบูรณาการศาสตร์ หลากหลายศาสตร์และหรือสาขาวิขา เพื่อตอบโจทย์การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจและ อุตสาหกรรม

     2. การออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนที่สามารถสนองตอบความต้องการและพัฒนา ทักษะการเรียนรู้ในรายบุคคลได้ (Personalized Learning) โดยผู้เรียนสามารถออกแบบหลักสูตรและชุด รายวิชาที่ตนเองสนใจ และเหมาะสมในการเป็นผู้ประกอบการ และพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม (Self-designed) ซึ่งเปิดกว้างให้ผู้เรียนสามารถออกแบบหลักสูตรในชุดรายวิชาระหว่างศาสตร์และหรือสาขาวิชา โดย ไม่จํากัดขอบเขตส่วนงานวิชาการ

     3. วิธีการจัดการศึกษาและแพลตฟอร์มของหลักสูตรในลักษณะหน่วยย่อย (Modular) การศึกษาที่ เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcomes Based Education) ที่บูรณาการระหว่างศาสตร์และให้อยู่ในเกณฑ์การ รับรองด้วยระบบ Micro -Credentials ซึ่งเป็นระบบรับรองและพัฒนาความสามารถที่เฉพาะเจาะจงระดับ รายบุคคลที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคลและความต้องการของผู้ประกอบการในสาขานั้นๆ 

     4. การบูรณาการการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติในสภาพจริง (Experiential Learning) โดยมี ระบบภาคีความร่วมมือเป็นเครือข่ายภาคการศึกษาและสถานประกอบการและหรือสถานที่ทํางานจริงใน ภาคอุตสาหกรรม รัฐ ประชาสังคม และชุมชนที่มีความพร้อมเพื่อต่อยอดการพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการกําลังคนทํางานได้ในสังคมวิถีใหม่ของภาคส่วนต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะควบคู่กับการ ทํางานร่วมกับผู้อื่น

สำหรับภารกิจ แนวทางการทำงานและการพัฒนาการเรียนการสอน ประกอบด้วยงานที่สำคัญคือ 

     1. จัดการศึกษาที่ให้ปริญญาที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการเรียนผสมผสานรูปแบบการเรียน เน้นบูรณาการศาสตร์ เน้นสร้างธุรกิจ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาภายในคณะสหวิทยากรและการประกอบการ

     2. เป็นคณะที่เน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนากําลังคนเพื่อตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการธุรกิจในทุกกลุ่ม อุตสาหกรรมของภาควิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ และการจัดการศึกษาที่เน้นบูรณาการศาสตร์ หลากหลายศาสตร์ และหรือสาขาวิชา (Multidisciplinary) เพื่อสามารถ สร้างผู้ประกอบการธุรกิจในทุก กลุ่มอุตสาหกรรมในศาสตร์ที่มีความต้องการของผู้เรียนและการเป็นผู้ประกอบการในตลาดแรงงาน และภาคอุตสาหกรรม ทั้งในการศึกษาในระบบปริญญา นอกปริญญาที่เรียกว่า TSU For All และ Self-Design

     3. จัดการศึกษาเน้นเกื้อกูลหลักสูตรต่างๆ ในวิทยาเขตพัทลุง ได้แก่ ควบสองปริญญา เพิ่มมูลค่าให้แก่หลักสูตรในวิทยาเขตพัทลุง เรียนต่างสาขาระหว่างวิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์เพื่อเป้าหมายสร้างการเป็นผู้ประกอบการ และเพิ่มจำนวนผู้เรียนในพัทลุง ซึ่งเป็นการสร้างเส้นทางใหม่ให้แก่วิทยาเขตพัทลุง
           
     4.หลักสูตรปริญญาแบบชุดวิชาโมดูล เป็นหลักสูตรบนฐานบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่บูรณาการองค์ความรู้และพัฒนาทักษะของผู้เรียนโดยการปฏิบัติงานจริง ที่สามารถเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบชุดวิชา (non-degree) สำหรับบุคคลทั่วไป 

     5. เป็นคณะระบบคลังหน่วยกิต รองรับการสะสมหน่วยกิตผ่านการจัดการศึกษานอกระบบด้วยหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบชุดวิชา รวมถึง การจัดการศึกษาอัธยาศัยด้วยรายวิชาออนไลน์ และหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งระบบคลังหน่วยกิตเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเข้าสู่การศึกษาในระบบปริญญาในหลักสูตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ

     6. เป็นคณะที่ดูแลหลักสูตรศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นที่ปี 1 โดยบริหารจัดการรายวิชาโดยเฉพาะในกลุ่มวิชาการสร้างนวัตกรรมสังคมและการเป็นผู้ประกอบการ โดยนักศึกษาจะต้องศูนย์ปฎิบัติการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการทั้งในมหาวิทยาลัย และสถานประกอบการภายนอกมหาวิทยาลัย

     7. เป็นคณะที่มีหลักสูตรปริญญาแบบชุดวิชาโมดูล โดยให้เรียนกลุ่มวิชาโทที่เปิดในมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มวิชาโทที่เปิดเอง โดยกำหนดโครงสร้างกลุ่มวิชาโทในหลักสูตรให้เลือกเรียน จำนวน 2 วิชาโท (2 ชุดวิชา) เพื่อสนับสนุนการบูรณาการศาสตร์ระหว่างหน่วยงาน สร้างทักษะใหม่ และเลือกเรียนตามสายธุรกิจนวัตกรรม รวม 2 กลุ่มวิชาโท จำนวน 30 หน่วยกิต

     ในส่วนหลักสูตรที่ดูแลในปีการศึกษา 2657 จะประกอบด้วยกลุ่มวิชาการศึกษาทั่วไปประกอบด้วยกลุ่มวิชาอัตลักษณ์ทักษิณและความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 กลุ่มวิชาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และกลุ่มวิชาการสร้างนวัตกรรมสังคมและการเป็นผู้ประกอบการ  นอกจากนี้หลักสูตรที่ดูแลในปีการศึกษา 2658  วิชาโทจะเปิดหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชา การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการประกอบการ

     รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี ได้กล่าวทิ้งท้ายคำนิยาม การสร้างคนจากรากสู่โลก ไว้ว่า “รากคือตัวที่จะเพาะต้นไม้ให้มันเติบโตได้ ถ้าต้นไม้มีใบแต่ไม่มีรากก็จะตายในที่สุด การเป็นผู้ประกอบการคือการสร้างรากที่เข้มแข็ง เมื่อไหร่ที่ผู้ประกอบการมีรากที่เข้มแข็ง เขาก็จะดำเนินงานสร้างรายได้สร้างอาชีพได้อย่างยั่งยืน เพราะเราพยายามที่จะดึงทายาทนักธุรกิจให้กลับมาพัฒนาทรัพยากรในพื้นที่บ้านของเขาเอง ดังเช่นการที่ ลูกนำงานของพ่อแม่มาสร้างมูลค่าเพิ่มนั่นคือการสร้างรากที่ เข้มแข็ง นำไปสู่การหยั่งรากในพื้นที่พื้นดินของเขา คณะนี้เป็นทั้งปุ๋ย เป็นทั้งน้ำ หรือทุกๆอย่างที่มารดให้รากแข็งแรง พอรากแข็งแรงลำต้นก็จะงดงาม แล้วจะเกิดการค่อยๆเติบโตและเปลี่ยนแปลงจากรากสู่โลก”

เรื่อง : รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี รักษาการแทนคณบดีคณะสหวิทยาการและการประกอบการ
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ