ม.ทักษิณ โชว์ของดีแดนใต้ อวดสายตาอธิการบดีทั่วประเทศ ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยและการประชุมใหญ่สามัญสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2567
ระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคม 2567 ณ สถาบันทักษิณคดีศึกษา และหอเปรมดนตรี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันพิจารณาปัญหาในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตามโครงสร้างของ ทปอ. อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ. ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 36 สถาบัน
ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย/อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุมฯ และดำเนินการประชุมตามวาระการประชุมฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวต้อนรับผู้ที่เข้าร่วมประชุมฯ พร้อมทั้งแนะนำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมเปิดการประชุมด้วยชุดการแสดงตระการตา ภายใต้ชุดการแสดง Glocalization "จากรากสู่โลก" โดยนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยทักษิณ ยังได้จัดแสดงนิทรรศการและการนำเสนอผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยทักษิณ แบ่งผลงานนิทรรศการเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. งานวิจัยประเภทงานมูลฐาน – เชิงวิชาการ ได้แก่ การบำบัดสีในน้ำเสียจากการแปรรูปปาล์มน้ำมันด้วยกลุ่มเชื้อ แบคทีเรียไร้อากาศที่ผลิตเอนไซม์แลคเคสร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของการใช้ประโยชน์จากกุ้งเคยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันออกของประเทศไทย l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล และเห็ดป่าในป่าสาคูจังหวัดพัทลุงสู่การนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาต่อยอดทางอุตสาหกรรมเกษตร l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล
2. ผลงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ – งานวิจัยเชิงพื้นที่ ได้แก่ พัทลุงโมเดล : การวิจัยและนวัตกรรมสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ l สถาบันวิจัยและนวัตกรรม มวยไทยเมืองลุง : พลังเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมและการจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน l สถาบันวิจัยและนวัตกรรม โนราการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา l คณะศิลปกรรมศาสตร์ การจัดการเครือข่ายเชิงพื้นที่ด้วยการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาชุมชนปลาสามน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล และการพัฒนากระบวนการแปรรูปเพื่อยกระดับคุณภาพปลาสามน้ำ เข้าสู่มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร l คณะอุตสาหกรรมการเกษตรและชีวภาพ
3. ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัดกรรม – งานวิจัยที่ได้รับรางวัสระดับชาติ นานาชาชาติ ได้แก่ แผ่นปิดแผลรักษาคีลอยด์จากพอลิเมอร์ชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ฉากกำบังรังสีเอกซ์ไร้สารตะกั่วจากยางธรรมชาติเชิงประกอบ l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล นวัตกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพแบบไร้อากาศ lคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล นวัตกรรมตรวจวัดพืชสกุลกัญชาทางการแพทย์ l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล ระบบผลิตขมิ้นชันพรีเมียมด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพขมิ้นแบบพกพาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรจากเกษตรมูลค่าสูง l คณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล
4. ธุรกิจนวัตกรรม ทองหลางช็อป - บริษัท ทีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยได้จัดแสดงภายในบริเวณงานประชุมฯ
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผลงานและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง อันจะส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนงานวิจัยต่าง ๆ ในอนาคต
โดยมหาวิทยาลัยทักษิณได้เปิดประสบการณ์แห่งความประทับใจ อาคันตุกะผู้มาเยือนถิ่นปลายด้ามขวาน โดยนำผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ณ เกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านอันดับ 4 ของประเทศ และอันดับ 361 ของโลก จากการจัดอันดับพิพิธภัณฑ์โลก (Museum World Ranking) พร้อมรับชมชุดการแสดง 2 ชุด โดยนิสิตสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ ในชุดการแสดง "มวยไทย เมืองลุง" และชุดการแสดง "กริช ลุ่มเลสาบสงขลา" เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567
และได้เชิญทุกท่านร่วมสัมผัสประสบการณ์ของสุดยอดเมนู Local Fusion ของเมืองสงขลา กับมื้อกลางวันอันแสนพิเศษในงานจัดเลี้ยง 4 Hands Tantalum Chef’ s Table : “The Spiritual of Singora” เพื่อร่วมต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5/2567 สำหรับอาหาร Tantalum Taste ภายใต้ความร่วมมือโดย อาจารย์ ดร. นิชากรณ์ พันธ์คง Food Stylist สถาบันส่งเสริมการบริการวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณ และ ร้านสะหวา SAWA Restaurant ในเครือ The Signature Group สุดยอดเมนูจากทั้ง 2 เชฟ ที่ผ่านการรังสรรค์อย่างประณีตจาก เชฟอาร์ - ปริญญา เรืองศรี Executive Chef ทักษิณาคาร มหาวิทยาลัยทักษิณ และ เชฟแบงค์ - ธรรศ ทับทิมแดง ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม The Signature Group
......................................
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ
#ทปอ_5/2567 #เจ้าภาพการประชุมทปอ. #Glocalization #จากรากสู่โลก #TSUNEWS #WeTSU #มหาวิทยาลัยทักษิณ