อธิการบดี ม.ทักษิณ นำทีมผู้บริหารทบทวนแผนกลยุทธ์ เปิดคานงัดใหม่สู่การบริหารเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก (The University of Glocalization)

อธิการบดี ม.ทักษิณ นำทีมผู้บริหารทบทวนแผนกลยุทธ์ เปิดคานงัดใหม่สู่การบริหารเพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก (The University of Glocalization)

8 พ.ย. 67 165

"ภูเขาที่ปีนป่าย ยากขึ้นทุกวัน ทว่า! ให้เชื่อเถอะว่า ฟากกระโน้น สิ่งสวยงาม กำลังรอคอย"  คำกล่าว รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ปลุกพลังและสร้างความเชื่อมั่นแก่คณะผู้บริหารที่เข้าร่วมโครงการทบทวนแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัย ทักษิณ (TSU Transformation of Strategy) ซึ่งฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพองค์กร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ถาวร จันทโชติ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ ได้เป็นโต้โผใหญ่ในการจัดกิจกรรม ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2567 ณ ดิ เอลลิเมนท์ กระบี่ รีสอร์ท-อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

 

 

"คานงัดใหม่" เพื่อการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยแบบก้าวกระโดด (New Leverage for Transformational University Growth)  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ
ภายหลังจากที่อธิการบดี ได้ประกาศคานงัดใหม่ ในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยทักษิณ พร้อมมุ่งมั่นสร้างสรรค์สู่การบริหารเพื่อขับเคลื่อนและมุ่งสู่ภาพอนาคตการเป็นมหาวิทยาลัยจากรากสู่โลก (The University of Glocalization) ในเชิงยุทธศาสตร์ การเติบโตที่ไม่หยุดยั้งยั่งยืน

ประกอบด้วย 10 คานงัดใหม่ ได้แก่ 
     1) พัฒนานิสิตให้มีความรู้ ทักษะรอบด้าน และประสบการณ์ปฏิบัติ ด้วยหลักสูตรสหวิทยาการ หลักสูตรใหม่ ๆ การเรียนแบบสะสมหน่วยกิต (TSU Credit Bank) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (TSU for All) พัฒนาหลักสูตรใหม่ เป็นหลักสูตรพรีเมี่ยม (TSU Premium) ด้วยหลักสูตรสองภาษา (Bilingual Degree) หลักสูตรควบสองปริญญา (Double Degree) หลักสูตรนานาชาติ (International Degree) ผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่ตอบสนองต่อการเรียนรู้ และเป็นนิสิตที่รู้จักราก-เข้าใจโลก ที่เรียกว่า Glocal Citizen
     2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น ด้วยแพลตฟอร์มมหาวิทยาลัยการเรียนรู้สำหรับทุกคน “TSU For ALL” ซึ่งเป็นการลงทะเบียนเรียนรายวิชาในการศึกษานอกระบบ ได้แก่ TSU Pre-Degree /Non Degree และการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม  รายวิชาออนไลน์ TSU MOOC และประสบการณ์บุคคล เพื่อเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาในระบบ คือ รายวิชาและหลักสูตรปริญญาของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยผู้เรียนนำผลมาเก็บสะสมไว้ในระบบธนาคารคลังหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU Credit Bank) เพื่อขอรับปริญญาและ/ หรือสร้าง-เปลี่ยนเส้นทางอาชีพที่เป็นทางเลือกใหม่ ๆ ของชีวิต 
     3) สร้างระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานการสนับสนุน "โลกชีวิตในมหาวิทยาลัย" (Campus Life) โดยจัดตั้ง “TSU ICON”  ในชื่อ “ศูนย์ส่งเสริมการประกอบการและการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์”  และ “ศูนย์พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและนวัตกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์” แห่งใหม่ของภาคใต้ ที่วิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง ควบคู่กับการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยพื้นที่สร้างสรรค์ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดให้มี Co-Working Space พื้นที่สร้างสรรค์จินตนาการแห่งใหม่ การสร้างหอพัก Premium การจัดพื้นที่ TSU Prayer Zone สำหรับกิจกรรมทางศาสนา จิตวิญญาณ และการอยู่ร่วมในพหุสังคมวัฒนธรรม เป็นต้น
     4) จัดตั้ง "ศูนย์การแพทย์แบบองค์รวม มหาวิทยาลัยทักษิณ" (TSU Holistic Medical Center) ที่มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ทำหน้าที่ผสมผสานและบูรณาการองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนปัจุบัน การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และภูมิปัญญาตะวันออก เชื่อมโยงการรักษาที่บ้าน (Home Health Care) บริการในโรงพยาบาลที่ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูสุขภาพ (TSU Wellness Centre) และการบริบาลในช่วงสุดท้ายของชีวิต (Hospice care)
      5) งานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงสังคม พาณิชย์ และการนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ โดยมุ่งเป้าในกลุ่มประเด็นหลักคือ การพัฒนาเกษตรและเทคโนยีชีวภาพโดยใช้ฐานทรัพยากรอัตลักษณ์พื้นถิ่นและการสร้างให้เกิดธุรกิจนวัตกรรม การใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีและทรัพยากรพื้นถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ภาคใต้  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาภาคใต้ยั่งยืน และการวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ด้วยการวิจัยและพัฒนา Soft Power ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการลดความเหลื่อมล้ำด้วยนวัตกรรมการศึกษาตลอดชีวิต
     6) เพิ่มอันดับการจัดมหาวิทยาลัยโลกให้สูงขึ้นในเชิงคุณภาพ ในสถาบัน THE Impact Ranking Webometrics Ranking of World University, UI Green Metric World University Ranking และ Museum World Ranking การริเริ่มการจัดอันดับมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม (Thailand Social Innovation University Ranking) และการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสถาบันนวัตกรรมสังคมในระดับโลก (World Social Innovation and Impact)
     7)  ฟื้น "สถาบันทักษิณคดีศึกษา" เป็นศูนย์กลาง-ชุมทางวัฒนธรรมและพื้นที่สร้างสรรค์
     8) จัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายประถม เพื่อผลิตนักเรียนระดับปฐมวัยและปฐมศึกษา
     9) ขับเคลื่อน TSU Holding Company ที่ได้รับการจัดตั้งในชื่อ บริษัททีเอสยู เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (TSU Enterprise) เป็นระบบและกลไกขับเคลื่อนธุรกิจ-เศรษฐกิจนวัตกรรมด้วยด้วยเทคโนโลยี (Tech Start Up) และการผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัย
     10) สนับสนุนบทบาท "ปัญญาชนสาธารณะ" นำความรู้-ปัญญาสู่สังคม ในประเด็นรูปธรรมเชิงพื้นที่ การเชื่อมต่อนโยบาย การปฏิบัติการทางสังคมด้วยจิตสำนึกสาธารณะและความเป็นพลเมืองของบุคลากรและนิสิต

  
นอกจากนี้ภายในเวทีที่ประชุมได้มีการระดมความคิดเชิงยุทธศาสตร์ TSU Moonshot (Strategic Brainstorming for TSU Moonshot) 3 ประเด็น พร้อมข้อสรุปผลและนำเสนอ (Summary and Presentation) ในประเด็นดังนี้
     ประเด็นที่ 1 : การพัฒนาหลักสูตรด้านนวัดกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
     ประเด็นที่ 2 : การวิจัยเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่ (TSU Social Innovation Polis)
     ประเด็นที่ 3 : การจัดอันดับมหาวิทยาลัยและความเป็นนานาชาติ
 

 
 

 

ตามติดด้วยการบรรยาย การพลิกโฉมยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติด้วยกลยุทธ์และสกรัม (Transformation of Strategy with Agile Tactics and Scrum) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ และการแบ่งกลุ่มปฏิบัติภารกิจ Workshop : การสร้างกลยุทธ์และตัวชี้วัดเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์: เส้นทางสู่ความสำเร็จ" (Building Strategies and KPIs for Visionary Success) พร้อมการนำเสนอแนวคิดจากการระดมสมอง ในประเด็นกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ดังนี้
     กลุ่ม 1 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการสร้างสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมสังคมและการเป็นผู้ประกอบการ
     กลุ่ม 2 สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาเชิงพื้นที่และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งชันของประเทศ
     กลุ่ม 3 บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา เชิงพื้นที่และสร้างขีดความสมารถด้านการแข่งขัน
     กลุ่ม 4 พัฒนานวัตกรรมสังคมบนฐานศิลปะ วัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสืบสานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
     กลุ่ม 5 พัฒนามหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติบนฐานท้องถิ่น (University of Glocalization)

  


โครงการทบทวนแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU Transformation of Strategy) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันทบทวนศักยภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งภายในและภายนอกให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน สามารถขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด นำไปสู่การประยุกต์และปรับใช้ให้สอดคล้องกับแผนของหน่วยงานในทุกระดับ โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย หัวหน้าส่วนงาน รองหัวหน้าส่วนงาน หัวหน้าสถาบัน หัวหน้าสำนักงาน หัวหน้าฝ่าฝ่าย หัวหน้างาน รวมจำนวน 110 คน 
 

เรียบเรียง :  งานสื่อสารองค์กร  สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ
#Strategy #TSU_Transformation #Transformational_University_Growth #University_of_Glocalization #TSU #TSU_Social_Innovation #Brainstorming #TSU_Moonshot #TSUNEWS #THAKSIN_UNIVERSITY