ม.ทักษิณ ร่วมมือ 14 หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2567

ม.ทักษิณ ร่วมมือ 14 หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2567

23 พ.ค. 67 457

มหาวิทยาลัยทักษิณ  ร่วมมือ 14 หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2567  “การพลิกโฉมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”

มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยสถาบันวิจัยและนวัตกรรม และคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ  14 หน่วยงาน  หน่วยงานภายในประเทศ 7 หน่วยงาน และหน่วยงานต่างประเทศ 7 หน่วยงาน ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 35 และนานาชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปี 2567 The 35th National and 2nd International Thaksin University Conference (TSUCON 2024) ภายใต้หัวข้อ : การพลิกโฉมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย (Reinvention of Research and Innovation to Drive the Thai  Economy) ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2567 ณ หอเปรมดนตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม  ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีในการรวบรวม สร้างองค์ความรู้ รวมถึงเครือข่ายความร่วมมือการพลิกโฉมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเศรษฐกิจไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน  

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน   และผู้เข้าร่วมประชุม ได้รับชมชุดการแสดงจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ  การขับร้องประสานเสียง เพลงทักษิณถิ่นรัก และเพลงปราฮูกอและ การแสดง "เรียงร้อยลูกปัดหัตถศิลป์" ชุดการแสดง "การพลิกโฉมวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย" ซึ่งชุดการแสดงดังกล่าวเป็นผลงานสร้างสรรค์ด้านการวิจัย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ในการพัฒนานวัตกรรมทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม หลังจากนั้น อธิการบดีได้มอบโล่ความร่วมมือให้แก่มหาวิทยาลัยที่ร่วมจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 

     

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สมัคร แก้วสุกแสง รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือจัดงานประกอบด้วยหน่วยงานภายในประเทศจำนวน 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา  และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ จำนวน 7 มหาวิทยาลัย ได้แก่ Universitas Sebelas Maret (Indonesia), Universitas Sylah Kuala (Indonesia), University Utara Malaysia (Malaysia), Myanmar Creative University (Myanmar), Tomsk State University (Russia), Bursa Uludag University (Turkey), Bahria Business School, Bahria University, Karachi Campus (Pakistan)

 

ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.พินิจ ดวงจินดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยทักษิณในครั้งนี้ มีผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอ ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ทั้งสิ้น 188 บทความ โดยมีผลงานเข้าร่วมนำเสนอใน ภาคบรรยายจำนวน 137 ผลงาน และภาคโปสเตอร์จำนวน 51 ผลงาน โดยแบ่งเป็น 9 เซสชั่น ได้แก่  วิทยาศาสตร์ชีวภาพและเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ฟิสิกส์ศึกษา ฟิสิกส์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ คณิดศาสตร์และคอมพิวเตอร์  วิทยาศาสตร์สุขภาพ การศึกษา  มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ และ ผลงานสร้างสรรค์  นอกจากนี้มีนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย จำนวน 4 บูธ จำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมทั้งสิ้น 350 คน และได้รับเกียรติจากวิทยากรบรรยายพิเศษ ดังนี้

• ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา ระดับพื้นที่ (บพท.) บรรยายพิเศษ เรื่อง "Orienting National and International Research to the SDGs"

• Prof.Dr.Chi Chuan Wang ,National Yang Ming Chiao Tung University, Taiwan บรรยายพิเศษ เรื่อง "Reinvention of Research and Innovation to private sector with commercialization in Talwan - From the perspective of electronic cooling"

• Prof.Dr.Serkan Gürlük, Bursa Uluda? University, Turkey บรรยายพิเศษ เรื่อง "Reinvention of research and innovation in Sustainable economy: The case of Turkey"

• Prof.Dr.Muhammad Zahid, Bahria University, Pakistan  บรรยายพิเศษ เรื่อง "Education for Sustainable development : A Case of Business School     

  

นอกจากนี้ คณะผู้จัดการประชุมฯ ได้จัดกิจกรรมทัศนศึกษาสถานที่ ต่างๆ ในจังหวัดสงขลา เช่น สถาบันทักษิณคดีศึกษา ชมสะพานติณสูลานนท์ ซึ่งเป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ขึ้นเขาตังกวน เยี่ยมชมท่าเทียบเรือสงขลา โรงสีแดงหับ โห้ หิ้น บ้านนครใน และศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมข้ามท้องถิ่นร่วมกัน

......................................................................

เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร  สำนักงานมหาวิทยาลัย

#TSUCON2024 #สถาบันวิจัยและนวัตกรรม  #หอเปรมดนตรี #มหาวิทยาลัยทักษิณ #TSUNEWS #WETSU #มหาวิทยาลัยทักษิณ #นวัตกรรมสังคม #THAKSINUNIVERSITY #SocialInnovation #ReinventingUniversity #TSUMove #SDGs #Sustainability