ม.ทักษิณ ร่วมงานโหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลัง แก้จน

ม.ทักษิณ ร่วมงานโหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลัง แก้จน

9 ก.ค. 67 1811

วันที่ 8 กรกฎาคม2567 นักวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ ภายใต้ชุดโครงการวิจัยพัทลุงโมเดล: การวิจัยและนวัตกรรมสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยํา ที่ได้สนับสนุนโดย กองทุน ววน. และ หน่วยงาน บพท. เข้าร่วมสัมมนา นำเสนอโครงการวิจัย และจัดนิทรรศการในงานการสัมมนา พหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และสามจังหวัดชายแดนใต้: โหม๋ภาคีพร้อมพรั่ง เพิ่มพลัง แก้จน ... ปรับปรนผลงาน ความรู้เทคโนโลยีพร้อมใช้โยงใยสู่ชุมชนนักปฏิบัติ วันจันทร์ ที่8 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี ถ.หนองจิก ต.รูสะมิแล อ.เมือง จังหวัดปัตตานี

การจัดงานในครั้งนี้หน่วย บพท. และสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่งในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างและสามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ร่วมมือกัน ในการแก้ปัญหาและการสร้างโอกาสที่เป็นประโยชน์ พร้อมกับกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการสื่อสาร ติดตาม และโค้ชแบบเสริมพลัง พร้อมกับชักชวนให้เกิดการจับคู่และเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ เป็นการช่วยเหลือคนเพื่อให้พัฒนาการปฏิบัติงานโดยการจัดกลุ่มเพื่อชี้ให้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาและกระบวนการในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด โดยผลผลิตสำคัญส่วนหนี่ง คือ นวัตกรรม ผลงาน ความรู้ และเทคโนโลยีพร้อมใช้ (Appropriate Technology)

   

ในส่วนของกิจกรรมการ Battle 6 ผลงานเด่นโมเดลพร้อมใช่ของ 6 สถาบันการศึกษา VS. ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) และ 1 โมเดลธุรกิจมูลค่าสูงเพื่อแก้จน มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เข้า Battle โดยนำผลงานกระจูดแก้จน และขยายผล Soft Power โดย รศ.ดร.พรพันธุ์เขมคุณาศัย ผศ.ดร.ก้องกินดากร บุญช่วย นอกจากนี้ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณนำเสนอโครงการวิจัยโมเดลแก้จน และนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพ เข้าร่วมในรูปแบบเทคโนโลยีต่างๆ ได้แก่
      1. สละเมืองลุงมุงสู่อัตลักษณ์ 
      2. หมูหลุม ขุมทอง
      3. เบญจกุล ขุมทรัพย์เมืองลุง
      4. ปลาดุกร้าแก้จนคนเมืองลุง
      5. การทำอาหารปลาใช้เองในครัวเรือน
      6. การใช้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงในการเลี้ยง เบาเบาปลาดุก 
      7. สูงวัยสร้างเมือง พัทลุงเมืองแห่งความสุข
      8. ผักเหลียงใบใหญ่ในโมเดลแก้จน
      9. เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
      10.โมเดลกระจูดแก้จน

   

ช่วงสุดท้ายของงานได้มีการประกาศผลรางวัลเผยว่า โครงการผักเหลียงใบใหญ่ในโมเดลแก้จน โดยผศ.ดร.นันทิยา พนมจันทร์ ได้รับรางวัล Popular vote ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เชิงพื้นที่ และกระบวนการ การเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยน แสดงผลงาน และจับคู่ความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ กับชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) กระตุ้น และสนับสนุนการ Matching โดย คณะนักวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคีมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และ บพท.

      

.....................................................
ขอบคุณภาพจาก : นักบริหารโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำจังหวัดพัทลุง
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ 

#โครงการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนฯ #พัทลุงโมเดล 
#สกสว. #บพท. #สถาบันวิจัยและนวัตกรรม #มหาวิทยาลัยทักษิณ