โรคติดเชื้อที่มากับน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมขัง ซึ่งพบได้บ่อยของประเทศไทย
ฟังด้วยเสียง
0:00 / 0:00

โรคติดเชื้อที่มากับน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมขัง ซึ่งพบได้บ่อยของประเทศไทย

2 ธ.ค. 67 227

      โรคติดเชื้อที่มากับน้ำท่วมและหลังน้ำท่วมขัง ซึ่งพบได้บ่อยของประเทศไทย (flood-borne diseases in Thailand)

      1. กลุ่มโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ (respiratory diseases) ได้แก่ หวัด (cold) ไข้หวัดใหญ่ (influenza) ปอดบวม (pneumonia)      
       อาการ: ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก เสมหะ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร      
       การป้องกัน: ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำและสบู่ สวมหน้ากากอนามัย ผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี      

      2. โรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ (food/water-borne infectious diseases) ได้แก่ อาหารเป็นพิษ (food poisoning) ท้องร่วงท้องเสีย (diarrheal diseases) อหิวาตกโรค (cholera) ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) ตับอักเสบเอ/อี (hepatitis A and E)
       อาการ: ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง      
       การป้องกัน: ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ ดื่มน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนกินอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก ใช้ช้อนกลางตักอาหาร เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ไม่ถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง      

       3. โรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง (fungal infection) ได้แก่ น้ำกัดเท้า (athlete’s foot) กลาก (ringworm) 
       อาการ: ผิวหนังที่เท้าเปื่อยเป็นหนอง และเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้าผิวหนังลอกเป็นขุย จากนั้นผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก มีโอกาสเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อน  
       การป้องกัน: หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยตรง สวมร้องเท้าบูธ รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วย สบู่ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุด หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ      

       4. โรคติดเชื้อหลังจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน
       - โรคฉี่หนู (leptospirosis)

       อาการ: ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดศีรษะมาก ตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร      
       การป้องกัน: หลีกเลี่ยงการแช่ในน้ำขัง สวมรองเท้าบูทกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักไม่เป็นแหล่งอาศัยของหนู      
     
        - โรคเมลิออยด์ (melioidosis)
       อาการ: ผิวหนังเกิดแผลเรื้อรัง ฝี หนอง มีไข้ เกิดอาการผิดปกติของปอด เจ็บหน้าอก ไอ มีเสมหะ หายใจติดขัด
       การป้องกัน: ดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก หลีกเลี่ยงการลุยน้ำ หากเกิดแผลรีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดและยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ สวมรองเท้าบูทถุงมือยางเมื่อต้องลุยน้ำหรือจับดิน

       - ไข้เลือดออก (dengue hemorrhagic fever)      
       อาการ: ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน
       การป้องกัน: ระวังอย่าให้ยุงลายกัดในเวลากลางวัน กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง

       - ตาแดง (pink eye/conjunctivitis)
       อาการ: ตาแดง ระคายเคืองตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตา หนังตาบวม      
       การป้องกัน: ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนรอบตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค      

       - โรคมือ เท้า ปาก (hand-foot-and-mouth disease)      
       อาการ: เด็กจะมีไข้ต่ำ ๆ มีอาการเจ็บปาก ร่วมกับมีตุ่มพองเล็กๆ บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ตุ่มแผลในปากบริเวณเพดานอ่อน กระพุ้งแก้ม ลิ้น และจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ      
       การป้องกัน: ล้างมือบ่อยๆ การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล การทำความสะอาดของเล่นและเครื่องใช้ หลีกเลี่ยงการนำบุตรหลานไปในสถานที่ที่มีโอกาสสัมผัสกับโรคได้ เช่น สนามเด็กเล่น ตลาด หรือแหล่งที่มีคนแออัด   เ
..................................................

เรียบเรียงบทความโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ นิยะสม
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยทักษิณ  

อ้างอิง
https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1612620240913082438.pdf https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1327420220927112515.pdf http://medi.co.th/news_detail71.php?q_id=944