ม.ทักษิณ จัดอบรม QS World University Ranking สร้างความเข้าใจเกณฑ์การประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก

ม.ทักษิณ จัดอบรม QS World University Ranking สร้างความเข้าใจเกณฑ์การประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก

3 ม.ค. 68 126

  

ม.ทักษิณ จัดอบรม QS World University Ranking สร้างความเข้าใจเกณฑ์การประเมินการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก   

งานวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ จัดโครงการบรรยายพิเศษ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก QS World University Ranking   เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๖๘  ณ ห้องประชุมแสงสุริยา อาคารศูนย์ปฏิบัติการวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานเปิดงาน ได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร. ใกล้รุ่ง สามารถ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากร ให้ความรู้ คำแนะนำ และแนวทางการจัดทำข้อมูลเพื่อการประเมิน ตลอดจนการทำความเข้าใจต่อหลักเกณฑ์ การประเมิน และแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อความเข้าใจตรงกัน

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ กล่าวว่า การทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานการประเมินในระดับโลก สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทักษิณ ในปี พ.ศ. 2568 เป็นปีแห่งการปลดปล่อยพลังครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องใช้พลังจากเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมแรงร่วมใจ ขับเคลื่อน ด้วยความมุ่งมั่นในการนำพามหาวิทยาลัยเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

QS TOP UNIVERSITES

สำหรับ QS World University Ranking  เป็นหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งโลกในทุก ๆ ปี  ผ่านระบบที่เป็นที่นิยมอันดับต้นๆ ของโลก โดย Quacquarelli Symonds หรือ QS เป็นสถาบันคลังสมองชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สถาบันอุดมศึกษาจากทั่วโลก ในทุก ๆ ปี จะมีการเผยแพร่รายงานการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก โดย QS จะมีประเด็นพิจารณาทั้งด้าน Research and Discovery, Emplouability and Outcomes, Global Engagement, Learning Experience, and Sustainability ซึ่งตัวชี้วัดประกอบด้วยเกณฑ์การประเมินที่สำคัญดังนี้ Academic Reputation (ความมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ) 30%, Citations per Faculty (การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ) 20%, Employer Reputation (ทัศนคติของผู้จ้างงานต่อบัณฑิต) 15%, Employment Outcomes (เครือข่ายด้านการวิจัยระหว่างประเทศ) 5%, International Faculty Ratio (สัดส่วนอาจารย์ชาวต่างชาติ) 5%, International Research Network (การสนับสนุนการจ้างงานบัณฑิต) 5%, International Student Diversity (ความหลากหลายของนิสิตต่างชาติ) 0%, International Student Ratio (สัดส่วนนักศึกษาชาวต่างชาติ)  5%, Faculty Student Ratio (สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา) 10% และ Sustainability (ความยั่งยืน) 5% ในการจัดลำดับนี้ ได้แบ่งเป็นระดับการศึกษา Undergraduate / Postgraduate สาขาวิชา และประเทศ
.......................................

#QS  #World_University_Ranking  #IRO  #การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก  #TSUNEWS  #WeTSU  #Thaksin_University