มหาวิทยาลัยทักษิณขับเคลื่อนงานด้านวิชาการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2570

มหาวิทยาลัยทักษิณขับเคลื่อนงานด้านวิชาการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2570

13 ม.ค. 68 79

 

มหาวิทยาลัยทักษิณขับเคลื่อนงานด้านวิชาการมุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2570

ภายใต้การบริหารงานของ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์ "มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ ภายในปี 2570" และตำแหน่งแห่งที่เป็นมหาวิทยาลัย "กลุ่มที่ 2 การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Teachnology and Innovation)" นั้น มหาวิทยาลัยได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อขับเคลื่อนและมุ่งสู่ภาพอนาคตของ มหาวิทยาลัยในเชิงยุทธศาสตร์หลังการพลิกโฉม จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการเพื่อการพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาเซิง

และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา

เชิงพื้นที่และสร้างขีดความสามารถด้านการแข่งขัน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนานวัตกรรมสังคมบนฐานศิลปะ วัฒนธรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อ

การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนามหาวิทยาลัยสู่มาตรฐานระดับนานาชาติบนฐานท้องถิ่น (The University of

Glocalization)

ยุทธศาสตร์ที่ 6 มีระบบบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิพร บุญมาก รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้  มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เป้าหมายของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการสร้างสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมสังคมและการเป็นผู้ประกอบการ มีเป้าหมายเชิงหมุดหมายที่สำคัญเพื่อพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนประเทศ และพัฒนาสมรรถนะในการสร้างนวัตกรรมสังคม โดยได้ผลักดันและขับเคลื่อนให้การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนของมหาวิทยาลัยทักษิณมีการพัฒนา เกิดการปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลง มุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมสังคมระดับแนวหน้าของประเทศ โดยกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงาน คือ

1. สร้างทางเลือกและพัฒนากลไกการจัดทำหลักสูตรการสร้างนวัตกรรมสังคม/ผู้ประกอบการ

2. พัฒนากลไกการจัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบไม่มุ่งปริญญา และการเรียบรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

3. จัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานอุดมศึกษา และระบบธนาคารหน่วยกิต (Higher Education Credit Bank)

4. พัฒนาระบบและกลไกการพัฒนาอาจารย์เพื่อสนับสนับสนุนการจัดการเรียบรู้ตลอดชีวิต

5. พัฒนานิสิตให้เป็น Glocal Citizenship และร่วมสร้างสังคมประกอบการ

6. สนับสนุนการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤตสุขภาพและอื่น ๆ

7. สร้างเส้นทางการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยทักษิณ

       

มหาวิทยาลัยทักษิณตั้งเป้าหมายพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมภายในปี 2570 โดยมุ่งเน้นการสร้างกำลังคนคุณภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ สำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเน้นการสร้างสมรรถนะการพัฒนานวัตกรรมสังคม และการเป็นผู้ประกอบการ พร้อมปรับหลักสูตรการศึกษาให้ตอบสนองความต้องการตลาดแรงงานในอนาคต มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งในด้านการพัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาที่มีการบูรณาข้ามศาสตร์ ข้ามระดับและควบสองปริญญา มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้ตอบสนองความต้องการของสังคมและผู้เรียนในยุคใหม่แบบ "ออนไลน์" ในรูปแบบการจัดการศึกษาแบบไม่มุ่งปริญญาที่เป็นการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาแบบ Pre-degree รวมถึงสร้างโอกาสทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองผ่านระบบ TSU For All และคลังหน่วยกิต

นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยมีการสนับสนุนให้อาจารย์มีสมรรถนะวิชาชีพเพื่อการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมให้อาจารย์มีการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และสนับสนุนให้อาจารย์ได้รับการประเมินสมรรถนะตามแนวทาง Thailand - PSF ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ผ่านหลักสูตร "คณาจารย์นิเทศสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน" (COOPERATIVE AND WORK-INTEGRATED EDUCATION, OME) พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดทำรายวิชา    คอร์สออนไลน์มากขึ้น และการสนับสนุนการเรียนรู้นั้น ได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการเรียนรู้ของนิสิตและอาจารย์ โดยการสนับสนุนการเรียนรู้จากแพลตฟอร์ม Linkedin Learning

ภายใต้แนวทางการดำเนินงาน พัฒนาหลักสูตรใหม่ที่เน้นใบประกอบวิชาชีพ ได้แก่หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล (1 ปี)  หลักสูตรพยาบาลบัณฑิต (2.5 ปี) หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต (ใบอนุญาตประกอบอาชีพกายภาพบำบัด) หลักสูตรเทคนิคการแพทย์บัณฑิต  (ใบอนุญาตประกอบอาชีพเทคนิคการแพทย์) หลักสูตรจิตวิทยาบัณฑิต (ใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะจิตวิทยาคลินิก)  ปรับปรุงหลักสูตรตามความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยกระดับหลักสูตร 2 ปริญญาข้ามสถาบัน  ตลอดจนสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล  มุ่งพัฒนาการเรียนรู้แบบออนไลน์ผ่านระบบ TSU MOOC โดยมีรายวิชาหลากหลาย เช่น การเป็นผู้ประกอบการ, ทักษะดิจิทัล, ภาษา และอื่น ๆ  รวมทั้งส่งเสริมการสะสมหน่วยกิตผ่านระบบ TSU Credit Bank เพื่อโอนหน่วยกิตสู่หลักสูตรมุ่งปริญญา

  

นอกจากนี้ ยังยกระดับการสอนและงานวิจัย ส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนมีสมรรถนะ Thailand PSF ร้อยละ 80 ผลักดันงานวิจัยที่เผยแพร่ในระดับนานาชาติ โดยใช้หลักสูตรบัณฑิตศึกษาเป็นฐาน โดยคำนึงถึงตัวชี้วัดคุณภาพบัณฑิต อัตราการสำเร็จการศึกษาสูงขึ้น 95% อัตราการมีงานทำ 80% ค่าเฉลี่ยรายได้บัณฑิตสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการดำเนินงานดังกล่าวจะช่วยสร้างมหาวิทยาลัยทักษิณให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาเชิงนวัตกรรมที่ ตอบสนองความต้องการของประเทศและตลาดแรงงานโลก พร้อมส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

..........................

เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร 

ภาพประกอบ : ฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้