สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมกับ มูลนิธิทักษิณคดีศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และ ครอบครัวศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ นำโดยอาจารย์ประดับ พงศ์ไพบูลย์ ร่วมจัดงานวัน 'ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์' ประจําปี ๒๕๖๘ ณ ห้องศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และห้องประชุมอ่าวทราย อาคารนวมภูมินทร์ สถาบันทักษิณคดีศึกษา ตําบลเกาะยอ อําเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อรําลึกถึงคุณูปการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชนวิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๘ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ธัญญา พันธ์ฤทธิ์ดำ รองอธิการบดีวิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันทักษิณคดีศึกษา กล่าวต้อนรับ รองศาสตราจารย์ไพบูลย์ ดวงจันทร์ ประธานมูลนิธิศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์และกล่าวรำลึกพระคุณศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นประธานในพิธี
นายสิทธิศักดิ์ ตันมงคล ประธานมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานว่า การจัดงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ ได้ถูกกําหนดให้มีขึ้นเพื่อรําลึก ถึงคุณูปการ ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และสืบสานแนวคิดการพัฒนาด้านคติชน วิทยาและวัฒนธรรมภาคใต้ โดย ตลอดชีวิตราชการในฐานะ “ครู” และผู้บริหารที่ทํางาน อย่างสร้างสรรค์ เห็นการณ์ไกล เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทําให้ศาสตราจารย์ สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ มีลูกศิษย์มากมาย ตลอดถึงผลิตผลงานทั้งด้านวิชาการ และด้านสังคมเป็นจํานวนมาก บรรดาศิษย์และกัลยาณมิตรที่ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งในฐานะครู ทั้งในฐานะผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งยวดต่อวงวิชาการทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ มีความปรารถนาให้สังคมและวงวิชาการได้ตระหนักถึงคุณค่าความสําคัญของวัฒนธรรม ท้องถิ่น และร่วมกันสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน จึงจัดให้มีงานวันศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ขึ้น โดยกําหนดให้ตรงกับวันที่ ๑๔ มกราคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด ของศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ พร้อมส่งมอบแบบแปลนการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ ภายในสถาบันทักษิณคดีศึกษา แก่อธิการบดี
ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้นำเสนอแผนพัฒนาสถาบันทักษิณคดีศึกษา ระยะ ๕ ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทางวัฒนธรรมและพื้นที่สร้างสรรค์สถาบันทักษิณคดีศึกษา ดังมีใจความว่า สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับการจัดอันดับจาก MUSEUM WORLD RANKING อยู่ในอันดับที่ ๔ ของประเทศ และลำดับที่ ๓๖๑ ของโลกมุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาในบริบทต่าง ๆ ดังนี้
๑. พัฒนาพื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ระดับสากล LEARNING EXPERIENCE พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา (พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้) การจัดนิทรรศการกิจกรรมด้านวัฒนธรรมการสื่อสาร และเรื่องราวต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับผู้คนในสังคมผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม International Museums/Museums Ranking
๒. ส่งเสริมการบริการทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน ACADEMIC AND SOCIAL SERVICES โดยการส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม/ วิสาหกิจเริ่มต้น/วิสาหกิจเพื่อสังคมขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมและเพิ่มคุณค่าเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน Social Innovation Polis
๓. สร้างระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรมทางวัฒนธรรม ACCOMMODATION AND RETAIL แฟลตฟอร์มธุรกิจนวัตกรรมทางวัฒนธรรม โดยการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ เช่น ที่พักร้านอาหารและเครื่องดื่ม/ร้านค้าและของที่ระลึก /ศูนย์บริการด้านการท่องเที่ยว/ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ The Landmark Songkhla
๔. สร้างพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ และสังคมวัฒนธรรมร่วมสมัย CREATIVE PLACE AND EXHIBITION ปฏิบัติการวัฒนธรรมและงานสร้างสรรค์ จัดนิทรรศการแสดงผลงานสร้างสรรค์ สร้างแฟลตฟอร์มการสื่อความหมายและสร้างประสบการณ์วัฒนธรรม ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน The Cultural walking street
สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ ๑๐ รูป สวดพระพุทธมนต์ “ธรรมนิยามสูตร” โดยประธานฝ่ายสงฆ์ พระโสภณวราภรณ์ รองเจ้าคณะจังหวัดสงขลา ติดตามด้วยการ กล่าวธรรมกถา โดยพระครูวาทีธรรมวิภัช ดร.เจ้าอาวาสวัดแหลมพ้อ หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมงานวางพวงมาลัยหน้ารูปเหมือนศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ และชมนิทรรศการ “ทักษิณคดี REDEFINE” ณ ห้องสงขลาศึกษา พร้อมทั้งเรียนรู้มรดกภูมิปัญญาความทรงจำของโลก “สายมูของแทร่ ต้องมาแล ...แทงศาสตราภาคใต้” ณ ห้องสงขลาศึกษา ปิดท้ายกิจกรรมภาคเช้าด้วย การ Workshop ห้องผ้าทอพื้นเมืองภาคใต้ ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว และห้องศิลปหัตถกรรมภาคใต้
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้กำหนด ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๔ –๑๕ มกราคม ๒๕๖๘ สำหรับวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘ มีการ สัมมนา ๙๐ ปี ชาตกาล ศาสตราจารย์สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ “มรดกภูมิปัญญาอาหารพื้นบ้านภาคใต้จากรากสู่โลก” ณ ห้องประชุมอ่าวทราย อาคารนวมภูมินทร์
........................................
เรียบเรียง : งานสื่อสารองค์กร